วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง

          เป็นการสอนที่มีเทคนิคน่าสนใจ โดยเฉพาะเรียนวิทย์ผ่านกิจกรรมทำขนม และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ในรูปแบบแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน โดยนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทุกคนที่มีส่วนร่วม ได้ทั้งองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และมีการวัดผลประเมินผลจากสภาพจริง มีหลายกลุ่มคนช่วยในการประเมินผลและนักเรียนสามารถทำผลงานจากการทำโครงงาน ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งมากขึ้น ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆได้อีกด้วย เป็นเทคนิคที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และทำให้นักเรียนชอบและอยากทานขนมขนมฝรั่งกุฎีจีนมากๆค่ะและถือว่าเป็นการเอาชุมชนมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ดีจริงๆทำให้ผู้เรียนได้รู้ในเรื่อง "สารและสมบัติของสาร" (ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ) ของ อ.นิตยา คงพันธุ์ รร.วัดประยุรวงศาวาส เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร และการถ่ายโอนความร้อน โดยใช้สื่อการเรียนการสอนแบบท้องถิ่น ขนมฝรั่งกุฎีจีน มรดกท้าวทองกีบม้า การสอนรูปแบบนี้ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้และทำให้รูปแบบของการเรียนของนักเรียนทำให้เกิดความเข้าใจการวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม มีผลงานจากการทำทดลองและเกิดทักษะอีกด้วย 


ลิงค์โทรทัศน์ครู


สรุปบทความเรื่อง

วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่ชั้นอนุบาลเด็กบางคนมีความช่างสังเกตุและคอยซักถามอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เขาเจอรอบๆตัว และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ ผู้ใหญ่หลายคนไม่เข้าใจคำว่าวิทยาศาสตร์จึงปิดกลั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจ ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย แต่สำหรับเด็กอนุบาลสิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้

                                                   ลิงค์บทความ

สรุปวิจัยเรื่อง

การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ จะเน้นเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ขวบ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ได้พัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ทันกับสถานณ์การในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะเน้นการพัฒนาสติปัญญาด้านการคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เพราะการคิดอย่างมีเหตุผลต้องอาศัยหลักการหรือข้อเท็จจริง การคิดอย่างมีเหตุผลนี้มีโอกาสผิดพลาดน้อย ผู้ที่มีทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลสูงย่อมมีความคิดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆได้ และสรา้งสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ดี ดังนั้นการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ควรจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แสดงออกอย่างอิสระด้วยการใช้จินตนาการที่หลากหลาย กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำซ้ำๆ โดยวิธีการต่างๆ หลายรูปแบบ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการจัดกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการแก้ไขปัญหาและการได้สืบค้นด้วยตนเอง ด้วยการทำกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ โดยจะกระทำกับวัสดุอุปกรณ์ โดยการสังเกตุ การตั้งปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การทดลองและการสรุปอภิปราย

ลิงก์วิจัย


สัปดาห์ที่18 (29/09/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อทั้ง 3 ชิ้นมาส่ง ได้แก่ สื่อของเล่น การทดลอง สื่อเข้ามุม และให้นักศึกษานำการทดลองมาทดลองพร้อมนำเสนอวิธีการสอนให้อาจารย์ดูด้วย
- อาจารย์ก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับงานบล็อคให้นักศึกษาฟังว่า บล็อคอาจารย์จะตรวจวันที่10 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะเป็นวันสอบปลายภาควันสุดท้าย ดังนั้นให้นักศึกษาไปทำบล็อคให้เรียบร้อย ในบล็อคก็จะต้อมีงวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,โทรทัศน์ครูอีก 1 เรื่องพร้อมสรุป และพวกลิงค์ต่างๆ บันทึกการเข้ารียนก็จะต้องให้เรียบร้อย


      


สัปดาห์ที่17 (25/09/56)


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในการเรียนวิชานี้ 

สัปดาห์ที่16 (18/09/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cooking" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน 2556

  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  2. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"



คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  2.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  3. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
ทักษะที่ได้รับ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

สัปดาห์ที่15 (15/09/56)

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อคของตัวเองให้เรียบร้อย
- ทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร" (กลุ่ม)       *ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ

สัปดาห์ที่14 (11/09/56)

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด แต่อาจารย์ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานที่ลำปลายมาสมาส่งอาทิตย์ถัดไปให้เรียบร้อย

สัปดาห์ที่13 (04/09/56)

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ คือ  การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน 

สัปดาห์ที่12 (28/08/56)


ไปศึกษาดูงานตั้งวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
และ 
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11 (21/08/56)

ไม่มีการเรียน การสอน  เนื่องจากผู้สอนได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้
1.  ทำการทดลองวิทยาศษสตร์
2.  ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
3.  ทำว่าวใบไม้
* กิจกรรมทุกชิ้น  ต้องมีภาพถ่ายลงบล็อก*

สัปดาห์ที่ 10 (14/08/56)


  •   อาจารย์ได้พูดถึงการไปดูงานที่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา ว่ามีแต่ละฝ่ายงานมีอะไรบ้างมีหน้าที่อะไรและใครที่ทำหน้าที่อะไรไปจัดการให้เรียบดรียบ
  •   อาจารย์ได้เข้าไปดูบล็อกในเซสนี้ ว่านักศึกษาคนใดที่ยังทำงานไม่เรียบร้อย  
  •   นักศึกษาคนใดในบล็อกที่ยัง ได้การทดลองวิทยาศาสตร์ การเข้ามุม ของเล่นวิทยาศาสตร์ ให้นักแต่ละคนไปทำจริงและปฏิบัติงานจริง ด้วยการทดลองทำจริงทั้ง3อย่างให้คบและโพล์ตขึ้นบล็อกพร้อมรูปให้เรียบร้อย
  •   เชตของพวกเราพอหลังจากหมดเวลา พวกเราก็ปรึกษาหารือกันในเรื่องของการแบ่งฝ่าย ในการเตรียมงาน กลุ่มของเพื่อเราก็แบ่งฝ่ายตามนี้

1.  การประสานงาน  จำนวนคน  7
2. ประชาสัมพัธ์   จำนวนคน 5 
3. ฝ่ายประเมินผล  จำนวนคน 7
4. งบประมาณ จำนวนคน 4
5. ลงทะเบียน  จำนวนคน 6
6. สวัสดิการ  จำนวนคน 7  (กลุ่มดิฉัน รับผิดชอบ)
7. พิธีการ กล่าวขอบคุณ  จำนวนคน 
  7.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา
  7.2  โรงเรียนลำปลายมาศพัมน

สัปดาห์ที่ 9 (07/08/56)

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วม โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนาธรรม นักศึกษาสาขาศิลปะวัฒธรรม กิจกรรม กายงามใจดีศรีปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 8 (31/07/56)

                                  


สอบกลางภาค



สัปดาห์ที่ 7 (24/07/56)

อาจารย์ให้นักศึกษารวมกันตอบ และสักถามอภิปรายในเรื่องของ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.กระบวนการเบื่องต้น
- การสังเกต
- การวัด
- การจำแนกประเภท
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
- การสื่อความหมาย
- การคำนวณ
- การพยากรณ์
2.กระบวนการผสม
- การตั้งสมมติฐาน
- การกำหนดเชิงปฎิบัติการณ์
- การกำหนดดเวลาควบคุมตัวแปร
- การทดลอง
- การตีความหมายข้อมูลและสรุปความ
3.วิธีการจัด
- จัดแบบเป็นทางการ
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- รูปแบบการสอนต่างๆ
- ประกอบอาหาร
- โครงการวิทยาศาสตร์
- ทัศนศึกษา
- ไม่เป็นทางการ
- จัดมุมวิมยาศาสตร์
- สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
- จัดตามเหตุการณ์
- ธรรมชาติ
- สิ่งที่พอเห็น
4.วิธีการใช้สื่อ
- เลือก
- เหมาะกับหน่วย
- เหมาะกับพัฒนาการ
- เวลาและสถานที่
- กิจกรรม
- เตรียม
- อุปกรณ์
- ทดลองใช้
- ลงมือใช้
- การประเมิน

ดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย



สัปดาห์ที่ 6 (17/07/56)

ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้สั่งงานไว้คือ นักศึกษาคนไหนที่ยังเหลือสื่อวิทยาศาสตร์อันไหนก็ให้โพสลงบล็อกของตัวเองในสัปดาห์นี้ สื่อมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ 
1 สื่อเข้ามุม
2 สือทดลอง
3 สื่อที่ให้เด็กประดิษฐ์ขึ้นเองได้
หัวข้อคือ
- ชื่อ
- อุปกรณ์
- การเล่น
- หลักการวิทยาศาสตร์
 # มีอะไรเพิ่มเติมก็ใส่ลงไปได้เลย ( ให้มีรูปภาพด้วย  )



ของเล่นวิทยาศาสตร์

 
การทำบูมเมอแรงแบบตัว L
อุปกรณ์
1.               กระดาษแข็ง
2.               กรรไกร
3.               กาวสองหน้า
วิธีทำ
1.               พับกระดาษแบ่งครึ่ง
2.               ตัดกระดาษที่พับไว้
3.               ติดสองชิ้นเป็นตัว L
4.               ดูทิศทางลม
 
 
 

ของเล่นวิทยาศาสตร์เข้ามุม

 

ขวดน้ำไล่สี

อุปกรณ์
1.             ขวดน้ำเปล่า 6 ขวด
2.             โฟมยาง
3.             สีผสมอาหาร
4.             กาว
5.             คัตเตอร์
6.             ไม้บรรทัด
7.             ไซริงค์  ( หลอดฉีดยา )
วิธีทำ
1.             นำขวดน้ำมาใส่น้ำปริมาณ 350 มิลลิลิตร ใส่ให้เท่ากันทั้งหมด ทั้ง 6ขวด
2.             นำสีผสมอาหารมาผสมกับน้ำเล็กน้อย
3.             นำไซริงค์  ดูดสีผสมอาหารแล้วนำมาหยดใส่ในขวดน้ำเปล่าที่เตรียมไว้ เริ่มจากขวดที่ 1 หยด 1หยด ขวดที่ 2 หยด 2หยด ขวดที่ 3 หยด 3 หยด  ขวดที่ 4 หยด 4 หยด  ขวดที่ 5 หยด 5 หยด  และขวดที่ 6 หยด 6 หยด  ไล่สีจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม
4.             นำโฟมยางมาตัดเป็นฐานรองขวด โดยใช้คัตเตอร์ตัดเป็นรูปวงกลมขนานพอดีขวด
มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
                เหตุผล : เป็นเพราะปริมาณของสีที่หยดลงไปในน้ำ การหยดสีลงไปในน้ำที่มีปริมาณน้ำเท่าๆกัน ถ้าหยดสีลงในน้ำน้อยสีที่เจือจางออกมาก็จะน้อย แต่ถ้าหยดสีลงในน้ำเยอะสีที่จะเจือจางออกมาก็จะเข้ม ดังนั้นการไล่สีคือการเพิ่มปริมาณของสีในแต่ละขวดที่หยดลงไป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

สัปดาห์ที่ 5 (10/07/56)

  • าจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เตรียมงานออกไปนำเสนอ สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของแต่ละคน ให้พร้อมและให้พูดถึงสิ่งที่เตรียมมาประดิษฐ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์บอกว่าถ้าชิ้นงานชิ้นไหนซ้ำกับเพื่อนก็ต้องออกมานำเสนอ แต่งานชิิ้้นนักศึกษาต้องประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)

สื่อการทดลอง

ก้านไม้ขีดเคลื่อนที่ได้
เป้าหมาย
                ก้านไม้ขีดเคลื่อนที่ได้อย่างไร            
อุปกรณ์
1.               ก้านไม้ขีด 1 ก้าน
2.               เหรียญ 1 เหรียญ
3.               ช้อน 1 คัน
วิธีทำ
1.               หักไม้ขีดไฟตรงกลางก้าน แต่อย่าหักให้ขาด
2.               วางเหรียญลงไปในก้านไม้ขีดไฟ โดยให้ขอบของเหรียญแตะก้านไม้ขีดไฟ
3.               หยดน้ำลงไปช้อน 2-3 หยด
4.               ใช้ช้อนหยดน้ำลงไปในที่จุดงอของไม้ขีดไฟในตำแหน่องลูกศรชี้ ดังภาพ

 
 
 

เห็นอะไรกันบ้าง
                ทันทีที่หยดน้ำลงไป ก้านไม้ขีดไฟจะแยกออกจากกันเล็กน้อย ขอบเหรียญอย่างน้อย 1 ขอบ จะตกจากก้านไม้ขีดไฟ
มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
                เหตุผล : น้ำทำให้เส้นใยที่ยึดก้านไม้ขีดไฟ 2 ท่อนขยายตัว ทำให้ก้านไม้ขีดไฟแยกออกจากกันเล็กน้อย
 

 

ที่มา ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ   จันทร์เจ้า (แปล)    มหัศจรรย์การทดลองวิทยาศาสตร์ สำนักพิมพ์ปาเจรา

สัปดาห์ที่ 4 (03/07/56)

การเรียน  การสอน
- อาจารย์ให้ดูสิ่งประดิษฐ์ที่ อาจารย์นำมา(ของเล่น) อาจารยืให้สิ่งให้เพื่อนในห้องได้ดูสิ่งประดิษฐ์นี้ พอดู
เสร็จแล้วอาจารยืถามว่าได้เห็นอะไรในสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำมาให้ดู
              *  ต้องเอียง ของเล่นชิ้นนี้เพื่อจะให้ลูกปิงปองไหลลงมา ของเล่นสิ่งนี้จะมองได้จากคุณสมบัติของแสง
เพราะแสงเมื่อกระทบกับวัสถุ จะทำให้เรามองเห็นมันสิ่งของที่อยุ่ในนั้นมันคือการเปลี่ยนแปลงและความ
แตกต่าง รวมเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
 - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา คนละ2 แผ่น ให้ตัดเป็น8ช่องและเย้บแล่มเป็นสมุดพอเสร็จแล้ว
อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวาดอะไรก็ได้ในหน้ากระดาษแผ่นแล้วแล้วแผ่นต่อมาก็วาดเพิ่มเติมไปทีอย่าง
ล่ะ1อย่าง จนคบ8 น่า พอเสร็จแล้วอาจารย์ให้เปิดกระดาษเร็วๆ เพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงจากรูปที่
นักศึกษาแต่ละคนได้วาด ว่าภาพมีการเปลี่ยนแปลงออย่างไรจากที่เราเปิดกระดาษเร็วๆๆ
 - อาจารย์ได้พูดถึงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 
                                                                             =  การเปลี่ยนแปลง
                                                                             =  การแตกต่าง (ทางธรรมชาติ)
                                                                             =  การปรับตัว
                                                                             =  การพึงพาอาศัยกัน
 - อาจารย์ให้นักศึกษา ดู  C. Dเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ และให้จด ว่าอันไหนคือคุณสมบัติ และวิธีการ

สัปดาห์ที่ 3 (26/06/56)

  • อาจารย์ให้ดูและสรุป  VCD  เรื่องความลับของแสง

แสง    
      แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง ได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสง ได้แก่
  • ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
  • ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
  • โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้
คุณสมบัติของแสง

         แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) , การหักเห (Refraction) , การสะท้อน (Reflection) และการกระจาย (Dispersion) 

1. การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง
         ในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเห (refractive index ; n) ของแสงเท่ากัน   แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง


2. การสะท้อน
         การสะท้อนของแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
         »  การสะท้อนแบบปกติ (Regular reflection)   จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุที่มีผิวเรียบมันวาวดังรูปที่ 2.2


รูปที่ 2.2 การสะท้อนแบบปกติ


         »  การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse reflection)   จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่มีผิวขรุขระดังรูปที่ 2.3


รูปที่ 2.3 การสะท้อนแบบกระจาย


         โดยการสะท้อนของแสงไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามจะต้องเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสงที่ว่า "มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ"

3. การหักเห
         การหักเหของแสงจะเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหไม่เท่ากัน   โดยลำแสงที่ตกกระทบจะต้องไม่ทำมุมฉากกับรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสอง    และมุมตกกระทบต้องมีค่าไม่เกินมุมวิกฤต (Critical angel ;  )    โดยการหักเหของแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ

         »   n1 < n2 แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ
รูปที่ 2.5 การหักเหของแสงกรณี n1 < n2

         จากรูปที่ 2.5 ระยะเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางในช่วง BC จะเท่ากับระยะเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางในช่วง B'C' 

         »   n1 > n2 แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ


รูปที่ 2.6 การหักเหของแสงกรณี n1 > n2

         จากรูปที่ 2.6 จะเห็นว่าระยะทาง BC มีค่ามากกว่า B'C' เนื่องจากระยะทาง BC เป็นการเดินทางของแสงในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหน้อยกว่า   ดังนั้นในระยะเวลาเท่ากันแสงจะสามารถเดินทางได้มากกว่า

         »   การสะท้อนกลับหมด (Total Internal Reflection)
         การเกิดการสะท้อนกลับหมดของแสงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อค่าดัชนีการหักเหของตัวกลางที่ 1 มีค่ามากกว่าดัชนีการหักเหของตัวกลางที่ 2 (n1 > n2) และ  ซึ่งจะส่งผลให้  มีค่าเท่ากับ หรือมากกว่าโดยเราสามารถหาค่า  ได้จาก Snell's Law

         เมื่อ  จะเกิดการสะท้อนกลับหมดของแสงซึ่งจะได้  ดังนั้น
ดังนั้นจะได้
รูปที่ 2.7 การสะท้อนกลับหมดของแสง

         ในรูปที่ 2.8 แสดงตัวอย่างของการสะท้อนกลับหมดของแสง โดยการมองเครื่องบินที่อยู่ในอากาศจากใต้น้ำ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเครื่องบินได้ก็ต่อเมื่อเรามองทำมุมกับผิวน้ำมากกว่า  ค่าดังกล่าวได้มาจากการคำนวณมุมวิกฤตดังนี้
รูปที่ 2.8 ตัวอย่างการสะท้อนกลับหมดของแสง

         จากสมการ  แทนค่า n2=1 และ n1=1.33 จะได้
         ดังนั้นการมองจะต้องทำมุมกับเส้นปกติน้อยกว่า  จึงจะสามารถมองเห็นเครื่องบินได้   ถ้าเรามองทำมุมกับเส้นปกติเท่ากับหรือมากกว่า  จะทำให้เกิดการสะท้อนกลับหมดของแสงจึงไม่สามารถมองเห็นเครื่องบินได้   ซึ่งปรากฏการณ์การสะท้อนกลับหมดของแสงนี้จะทำให้แสงสามารถเดินทางไปในเส้นใยแสงได้

4. การกระจาย
         ในการพิจารณาการเดินทางของแสงที่ผ่านๆ มา   เราสมมติให้แสงที่เดินทางมีความยาวคลื่นเพียงความยาวคลื่นเดียวซึ่งเราเรียกแสงชนิดนี้ว่า   "Monochromatic"   แต่โดยธรรมชาติของแสงแล้วจะประกอบด้วยความยาวคลื่นหลายความยาวคลื่นผสมกัน   ซึ่งเราเรียกว่า "Polychromatic"   ดังแสดงในรูปที่ 2.9 จะเห็นว่าแสงสีขาวจะสามารถแยกออกเป็นแสงสีต่างๆ (ความยาวคลื่นต่างๆ)  ได้ถึง 6 ความยาวคลื่นโดยใช้แท่งแก้วปริซึม  ซึ่งกระบวนการที่เกิดการแยกแสงออกแสงออกมานี้  เราเรียกว่า "การกระจาย (Dispersion)"
         การกระจายของแสงนี้จะตั้งอยู่บนความจริงที่ว่า  "แสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันจะเดินทางด้วยความเร็วที่ต่างกันในตัวกลางเดียวกัน"
         นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวทั้ง 4 ข้อแล้ว แสงยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกคือ
         1. แสงจัดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ชนิดหนึ่ง
         2. คลื่นแสงเป็นคลื่นมี่มีการเปลี่ยนแปลงตามขวาง (Transverse wave)
ซึ่งทั้ง  2  กรณีนี้  ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าคลื่นแสงเป็นคลื่น TEM โดยลักษณะการเดินทางของแสงแสดงในรูปที่ 2.10
รูปที่ 2.10 การเดินทางของคลื่นแสง
  •  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่าเมื่อเราดู VCD  จบแล้วว่าได้เนื้อหาอะไรบ้าง และในเนื้อหามีอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยสรุปได้เป้น My Map ดังนี้