วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง

          เป็นการสอนที่มีเทคนิคน่าสนใจ โดยเฉพาะเรียนวิทย์ผ่านกิจกรรมทำขนม และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ในรูปแบบแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน โดยนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทุกคนที่มีส่วนร่วม ได้ทั้งองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และมีการวัดผลประเมินผลจากสภาพจริง มีหลายกลุ่มคนช่วยในการประเมินผลและนักเรียนสามารถทำผลงานจากการทำโครงงาน ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งมากขึ้น ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆได้อีกด้วย เป็นเทคนิคที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง และทำให้นักเรียนชอบและอยากทานขนมขนมฝรั่งกุฎีจีนมากๆค่ะและถือว่าเป็นการเอาชุมชนมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ดีจริงๆทำให้ผู้เรียนได้รู้ในเรื่อง "สารและสมบัติของสาร" (ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ) ของ อ.นิตยา คงพันธุ์ รร.วัดประยุรวงศาวาส เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร และการถ่ายโอนความร้อน โดยใช้สื่อการเรียนการสอนแบบท้องถิ่น ขนมฝรั่งกุฎีจีน มรดกท้าวทองกีบม้า การสอนรูปแบบนี้ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้และทำให้รูปแบบของการเรียนของนักเรียนทำให้เกิดความเข้าใจการวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม มีผลงานจากการทำทดลองและเกิดทักษะอีกด้วย 


ลิงค์โทรทัศน์ครู


สรุปบทความเรื่อง

วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่ชั้นอนุบาลเด็กบางคนมีความช่างสังเกตุและคอยซักถามอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เขาเจอรอบๆตัว และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ ผู้ใหญ่หลายคนไม่เข้าใจคำว่าวิทยาศาสตร์จึงปิดกลั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจ ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย แต่สำหรับเด็กอนุบาลสิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้

                                                   ลิงค์บทความ

สรุปวิจัยเรื่อง

การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ จะเน้นเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ขวบ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ได้พัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ทันกับสถานณ์การในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะเน้นการพัฒนาสติปัญญาด้านการคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เพราะการคิดอย่างมีเหตุผลต้องอาศัยหลักการหรือข้อเท็จจริง การคิดอย่างมีเหตุผลนี้มีโอกาสผิดพลาดน้อย ผู้ที่มีทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลสูงย่อมมีความคิดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆได้ และสรา้งสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ดี ดังนั้นการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ควรจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แสดงออกอย่างอิสระด้วยการใช้จินตนาการที่หลากหลาย กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำซ้ำๆ โดยวิธีการต่างๆ หลายรูปแบบ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการจัดกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการแก้ไขปัญหาและการได้สืบค้นด้วยตนเอง ด้วยการทำกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ โดยจะกระทำกับวัสดุอุปกรณ์ โดยการสังเกตุ การตั้งปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การทดลองและการสรุปอภิปราย

ลิงก์วิจัย


สัปดาห์ที่18 (29/09/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อทั้ง 3 ชิ้นมาส่ง ได้แก่ สื่อของเล่น การทดลอง สื่อเข้ามุม และให้นักศึกษานำการทดลองมาทดลองพร้อมนำเสนอวิธีการสอนให้อาจารย์ดูด้วย
- อาจารย์ก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับงานบล็อคให้นักศึกษาฟังว่า บล็อคอาจารย์จะตรวจวันที่10 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะเป็นวันสอบปลายภาควันสุดท้าย ดังนั้นให้นักศึกษาไปทำบล็อคให้เรียบร้อย ในบล็อคก็จะต้อมีงวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,โทรทัศน์ครูอีก 1 เรื่องพร้อมสรุป และพวกลิงค์ต่างๆ บันทึกการเข้ารียนก็จะต้องให้เรียบร้อย


      


สัปดาห์ที่17 (25/09/56)


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในการเรียนวิชานี้ 

สัปดาห์ที่16 (18/09/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cooking" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน 2556

  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  2. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"



คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  2.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  3. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
ทักษะที่ได้รับ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

สัปดาห์ที่15 (15/09/56)

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อคของตัวเองให้เรียบร้อย
- ทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร" (กลุ่ม)       *ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ